16 มกราคม 2553

เกี่ยวกับหนังสือที่บังพูดถึงในโปรไฟล์

มีผู้อ่านหลายท่านได้อ่านprofileของบัง แล้วอยากจะทราบว่าทำไมบังจึงชอบหนังสือสามเล่มที่พูดถึง บังเลยถือโอกาสตอบเสียพร้อมกันที่นี่ เผื่อว่ามีใครอยากรู้อีกก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลาถาม ถือว่าเป็นการแนะนำหนังสือดีในทรรศนะของบังไปในตัวด้วยก็แล้วกัน

Heart-wood from the Bo Tree หรือ"แก่นพุทธศาสตร์" เป็นบทความที่ถอดจากเทปคำบรรยายของท่านพุทธทาสที่โรงพยาบาลศิริราชเมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๕ ได้มีการแปลเป็นหลายภาษารวมทั้งภาษาอังกฤษ บังเลือกที่จะอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษเพราะจะได้เป็นสากลมากขึ้น ถึงแม้ว่าบล็อกศาลาทอมจะเป็นภาษาไทย แต่คนที่ท่องอินเทอเน็ตมาเจออาจจะไม่ใช่คนที่ใช้และเข้าใจภาษาไทยเสมอไป แก่นพุทธศาสตร์เป็นธรรมะขั้นลึกและเป็นตัวแท้ของพุทธศาสนาที่ท่านพุทธทาสได้ค้นคว้าจากพระไตรปิฏก ซึ่งมีทั้งน้ำและเนื้อปะปนกันอยู่ ซึ่งจริงๆแล้วไม่มีอะไรมาก แต่ค่อนข้างยากที่จะเข้าใจ ท่านจึงเลือกที่จะบรรยายเรื่องนี้ให้กับพวกที่มีสติปัญญาแก่กล้าเช่นนักศึกษาแพทย์และนายแพทย์เป็นการเริ่มต้น โดยสรุปการบรรยายทั้งสามตอนเป็นเรื่องของการทำจิตให้ว่างจากการยึดถือในตัวตน เนื่องจาก"ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่งหมายความว่าสรรพสิ่งที่เราสัมผัสโดยอายตนะนั้นจริงๆไม่ใช่ตัวตน(self) ความทุกข์เกิดจากการที่เราไปยึดติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เลิกยึดถือเมื่อไหร่ ความว่างก็จะปรากฏขึ้น พุทธศาสนาก็มีอยู่แค่นั้นเอง คนสมัยพุทธกาลจึงสามารถบรรลุธรรมกันได้ง่ายๆเพราะคำสอนยังตรงไปตรงมาและไม่เพี้ยนจนหาของเดิมแทบไม่เจอในปัจจุบัน อยากจะอธิบายมากกว่านี้ แต่ยิ่งพูดมากก็ยิ่งทำให้เลอะเลือน


The Foundation เป็นงานเขียนของ Isaac Asimov นักเขียนนวนิยายวิทยาศตร์ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล เขาเริ่มเขียนเรื่องนี้เมื่อตอนเขาอายุได้๒๑ปี ในขณะที่กำลังเป็นนักศึกษาในสาขาbiochemistryอยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณปีค.ศ.๑๙๔๒ เขาเอาประวัติศาสตร์การล่าอาณานิคมของมหาอำนาจในยุโรปเมื่อศตวรรษที่แล้วและการค้นพบใหม่ทางวิทยาศาสตร์ในช่วงนั้นมาผนวกกันและแต่งเป็นนิยาย การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในตอนนั้นก็คือการค้นพบปรากฎการณ์ต่างๆในระดับอะตอมซึ่งไม่สามารถทีจะอธิบายได้โดยกฏเกณฑ์ของวิชาฟิสิกส์ที่มีอยู่ จึงได้มีการพัฒนาวิชาฟิสิกส์แขนงใหม่ขึ้น ที่เรียกว่าQuantum Mechanicsหรือกลศาสตร์ควอนตัม เพื่อที่จะใช้อธิบายปรากฎการณ์ใหม่ที่เพิ่งค้นพบ โดยเนื้อหา อนุภาคพื้นฐานเช่นอีเลคตรอนเมื่อมีอยู่เพียงตัวเดียวหรือจำนวนน้อยๆ ไม่มีใครสามารถที่จะบอกได้ถึงพฤติกรรมของมัน แต่ถ้าหากมันอยู่ด้วยกันจำนวนมากๆ กฏเกณฑ์ของกลศาสตร์ควอนตัมซึ่งเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ก็สามารถที่จะนำมาใช้คำนวณและเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มอีเลคตรอนเหล่านั้นได้ Asimovเลยคิดว่า หากเขาเอาสมการดังกล่าวมาใช้กับกลุ่มคนจำนวนมากบ้าง เขาก็คงจะสามารถที่จะทำนายความเป็นไปในสังคมมนุษย์ได้ แต่เนื่องจากจำนวนพลโลกน้อยเกินไปที่จะใช้สมการในการทำนายอนาคตของสังคมได้อย่างแม่นยำ เขาเลยเอาความคิดเรื่องอาณานิคมระดับทวีปและโลกไปใช้ในระดับกาแลกซี เขาจินตนาการว่าในอนาคตคนจากโลกจะออกไปสร้างอานานิคมในโลกอื่นๆซึ่งมีอยู่เป็นล้านๆโลกในกาแลกซี่ทางช้างเผือกที่ระบบสุริยะตั้งอยู่ ความสนุกของเรื่องจึงเริ่มขึ้น หลังจากที่การอพยพออกไปตั้งอาณานิคมในกาแลกซี่ได้หลายพันปี ได้มีนักคณิตศาสตร์ชื่อHari Seldonซึ่งอยู่บนโลกชื่อทรานสตอร์ ได้ค้นพบสมการที่สามารถใช้คำนวณทำนายอนาคตได้อย่างแม่นยำ เขาเลยกลายเป็นคนที่บรรดาผู้มีอำนาจในโลกต่างๆต้องการตัว นอกนั้นก็เป็นความสนุกของเรื่องที่ได้รับการสอดใส่เข้าไปตามแบบนวนิยายโดยทั่วๆไป แต่ก็ยังคงนำเสนอความคิดที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่นในบางโลก ทุกสิ่งทุกอย่างรวมกันเป็นหนึ่ง โลกทั้งโลกมีพฤติกรรมเหมือนคนๆหนึ่งแต่คนและสัตว์บนโลกนั้นทำหน้าที่ของตัวเองไปอย่างอิสระ เขาคงจะได้ความคิดมาจากร่างกายของคนหรือสัตว์ ซึ่งมีชีวิตอิสระนาๆชนิดที่อาศัยอยู่ในตัว ทำหน้าที่ของตัวเองไปโดยที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยตรงจากร่างกายเจ้าของ เช่นเม็ดโลหิตขาวที่ช่วยทำลายเชื้อโรค แบคทีเรียในกะเพาะที่ช่วยย่อยอาหาร และฯลฯ มีคนเคยแปลนิยายชุดนี้เป็นภาษาไทยหลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่สร้างความเสียหายให้ของเดิมเพราะคนแปลอาจจะไม่เข้าใจถึงเนื้อหาตามที่ตาAsimovตั้งใจ ซึ่งต้องอาศัยพื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างลึกซึ้งในฐานะคนแปล แต่ถ้าอ่านเองคนเดียวก็ไม่เป็นไร

The Tao of Physics เป็นงานเขียนของ Fritjof Capra นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือขายดีอยู่หลายปี พิมพ์มาแล้วเป็นสิบๆครั้ง Capra ได้ค้นคว้าปรัชญาตะวันออกและเอาไปเปรียบเทียบกับวิชาฟิสิกส์ แกสรุปว่าจริงๆแล้วจุดประสงค์ของฟิสิกส์และศาสนาขั้นลึกซึ้งนั้นใกล้เคียงกัน คือความต้องการที่จะเข้าใจและอธิบายสรรพสิ่ง เพียงแต่วิธีการที่ใช้นั้นต่างกัน เขาพบว่าว่าในบรรดาศาสนาทั้งหมด หลักการทางศาสนาพุทธและกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์นั้นคือแนวคิดอันเดียวกัน คนที่คิดค้นทฤษฏีทางกลศาสตร์ควอนตัมเช่นบอร์ โชดิงเจอร์ และไฮเซนเบิร์กนั้นไปได้ความคิดเกี่ยวกับ"สุญญตา"มาจากธิเบต แล้วนำมาใช้เป็นพื้นฐานทางปรัชญาในการตีความผลจากการแก้สมการของกลศาสตร์ควอนตัม สาเหตุที่การตีความผลของการแก้สมการเป็นเรื่องยาก ก็เพราะมันเป็นเรื่องที่ไม่มีในชีวิตประจำวันที่เราคุ้นเคย ตัวอย่างเช่นกลศาสตร์ควันตัมทำนายเกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Tuneling ซึ่งขยายความออกได้ในลักษณะที่ว่า ถ้าหากใครคนหนึ่งกระโดดเข้าหากำแพงที่ทำด้วยวัสดุอะไรก็ตาม โอกาส(probability)ที่เขาจะไปปรากฏอยู่อีกข้างหนึ่งของกำแพงโดยที่กำแพงร่างกายของเขายังคงสภาพเดิม๑๐๐%นั้นมีอยู่ ซึ่งปรากฎการณ์นี้ได้รับการพิสูจน์โดยทางอ้อมแล้วว่าเป็นจริง แต่คงจะไม่มีใครอยากลองกระโดดเข้าหากำแพงเพื่อทดสอบ เพราะถึงแม้ว่าความเป็นไปได้นั้นมีอยู่ แต่ก็มีอยู่น้อยมาก

หากใครอยากอ่านหนังสือทั้งสามเล่ม บังมีฉบับอีเลคทรอนิคส์ภาษาอังกฤษอยู่(pdf) ส่วนของท่านพุทธทาสมีภาษาไทยด้วย ใครอยากได้ก็อีเมลล์มาบอก แล้วบังจะส่งไปให้ สองเล่มหลังลงเว็ปไม่ได้เพราะเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของ ส่วนของท่านพุทธทาสนั้นเป็นที่แน่นอนว่าท่านไม่ถือลิขสิทธิ์ เพราะท่านได้ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างไปแล้วตั้งแต่เมื่อสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19/1/53 16:34

    น่าจะสนุกนะครับบังนิยายเรื่องนี้อยากหาอ่านบ้างแต่ผมหัวน่าจะเข้าไม่ถึงมีQUANTUM MECHANICS เข้ามาเกี่ยวข้องแค่กลศาสตร์ประยุกต์ก็จะตกไม่ตกแหล่ ถ้ามี differential Equation หรีอ อินติเกรดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้วไม่ต้องถามน้าเณรเคยติด E มาแล้วแต่ก็เคยเห็นนะปรากฎการณ์ที่เรียกว่า TUNELING ความน่าจะเป็นหนึ่งในพันมีคนเคยทำได้มาแล้ววิ่งกระโดดเข้าหากำแพงเมืองจีนสามารถผ่านไปอยู่อีกฝากหนึ่งของกำแพงได้เขาคนนั้นที่ทำได้คือ David copperfield

    ตอบลบ