24 พฤศจิกายน 2554

Maethom...Past and Present (Part 2)



Before 1970, Maethom communicated with the rest of the world via the river, either up stream to Hatyai or down stream to the lake and ocean. For one way, it would take 3 hours to Hatyai, and 4 hours to Songkhla by motor boat. During the 1970s, dramatic political changes took place in Bangkok. The change resulted in more funds appropriated for rural area developments. Politicians national and local tried to find creative ways to spend such funds. Roads, bridges, and modern infrastructures such as power and telephone lines came to the village. All of the sudden, a tiny sleeping agrarian society opened itself to the world. It was a quantum leap adjustment for majority of the people, especially from the socioeconomic point of view. In the mid 1970s, less than 30% of households in Maethom had toilets. Actually, they didn’t even have a privy. They would go to the bush and didn’t even bother to bury their feces.  This may sound very primitive, but it was the way of life back then.

Demand for consumer goods came with the roads and power lines. Villagers had no disposable incomes for luxurious items such as car, truck, refrigerator, TV, and so on. Only a small number of people had steady incomes, mostly were government’s employee. It was rare that any families would own more than 15 acres of land. A large scale agriculture operation was not possible. They either sold part of their lands or go to work in the factories in towns to earn enough money for new expenses. After a few years, agriculture lands were left almost totally empty as it was more effective to earn wage and buy food rather than self-producing. The only remaining profitable agriculture was rubber plantation. This was the most reliable source of earning for those without regular employment. Unemployment was not a problem when the consumption was low, but it became highly visible when Maethom transformed to join high consumption societies. Drug-uses among juveniles in the village became prevalent. Unemployment and drug are a good combination for crimes. A lot of community’s efforts went into battling the problems. As in all developed countries, drug is still there and not easy to be completely eradicated.

Education perceived as a ticket for better life by newer generations of parents in Maethom, shared by a contemporary thought in Thai society. As steady government jobs dried out, new college graduates without jobs becomes a brand new problem. By a conventional wisdom, this won’t be all bad. Well educated young people become a driving force of local politic and developments. It is not a surprise these days to see college graduates run for head of the village or Sub-District Administration Organization(Thai:อบต). It is quite certain that these young people bring a lot of valuable modern ideas from their studies to a real use in the village.

In recent years, Hatyai and Songkhla grew rapidly in all aspects, from industries, government, to higher education. Hatyai is a center for business, finance, and tourism. Songkhla has maintained its important role as a seaport city from the past and will be well into the future. There are many education institutions offering programs up to doctorate level. As economy becomes global, the areas also become inseparable from the rest of the country and the world. There is no exception for Maethom, a forgotten village only a few years ago. Roads crisscrossing areas around Songkhla Lake the way unimaginable 50 years earlier. It would take only 15 minutes or less from Hatyai business districts to Maethom, and only a few more minutes to go all the ways to Laem-po, a lakeside recreation area. Maethom's original identity is almost gone. It is now just a suburb of Hatyai and Songkhla.

Our cultures worship heroes and leaders. Quite often, the leaders just rob all of the fames and successes from the ordinary people. They are left with nothing to be proud of while laboring the works. There are a lot of stories of individuals and leaders in the village who made the history, but I prefer not praising the community leaders here. At the same time, I cannot cover all ordinary people.

Recent major infrastructure developments in Maetom

Electricity:                       1984
Paved road:                    1995
Land line phone:             1996
Highs peed internet:       2011


Maethom points of interest


Wat Narungnok
Wat Kutao (Original school building, after restoration in 2010)










The second Wat Kutao school building










Old sling bridge (Wat Kutao)










Hua-non-Wat Kutao










Tah-Oh (Old shipyard site)










Toong-Koh-Lai (1)










Toong-Koh-Lai (2)










Toong-Koh-Lai (3)










Thom (1)










Thom (2)










Thom (3)










Tuad Thom 

21 พฤศจิกายน 2554

Maethom ... Past and Present (Part 1)


     Throughout the last 1000 years of Thailand history, centers of power were in the north and middle parts of the today territory. Warfare between the states and internal power struggles caused destructions and reconstructions of the capitals over and over again. History of Thailand is all about what was going on where the administrative power located. There were a few major cities in the south such as Pattani, Songkhla, Pattalung, Nakorn-Srithammarat, and Chaiya. These cities were regarded as colonies or satellites, no mention in the national archives unless there were uprisings from time to time. In such events, the capital would send troops to suppress and regain the supremacy. Normally, those who rebelled against the central ruling power ended up being brutally and completely annihilated.


After the decay of Srivichai kingdom which ruled Java and Malay Peninsula in 12th century, southern seaport cities such as Songkhla were not strategically important for Sukhothai, the newly established kingdom. While this area known to be under the control of Sukhothai, it was largely neglected. During the reign of king Narai of Ayutthaya kingdom, Songkhla was a city ruled by Persian merchants and pirates. The ruler was sultan Suleiman. He refused to surrender and pay tribute to Ayutthaya. King Narai sent troops to suppress the rebellion. After a few failed attempts, sultan Suleiman was badly defeated. The city of Songkhla, which is now at Khao-Daeng, was destroyed. King Narai appointed a new ruler loyal to him, and the city was moved across the strait to where it is today.


Even though Maethom is only 25km from Khao-Daeng, what happened in Songkhla at the time probably did not affect on people in Maethom at all. Perhaps Maethom was very small and the area was invisible or insignificant for authorities and taxations. Early settlers were a mixture of Persian, Malay, Chinese, and local people from around Songkhla Lake.


Geologically, Maethom was once part of the Songkhla Lake. Deposits from many small rivers around the Lake, including Klong-U-Tapao, formed deltas that reclaimed land from water and became Maethom and other nearby villages today. Maethom ground is only a few feet above sea level. Only less than 6 feet under the ground surface, black mud is the next layer. Old seashells and fossils could be found just like in the lake. Below the mud layer, water is salty. Flooding in the rainy season is the fact of life on the banks of Klong-U-Tapao River. Each years flooding enriches the land with new deposits, forever naturally keeping the land fertile.


Some settlers migrated to the area from the ocean, to the lake, and then up the river. Many traveled up as far as Hatyai or beyond, while many settled down along the river banks near the lake. Muslim, mostly fishermen preferred to stay near the lake. Thai and Chinese went further inland to claim land for agriculture.  Pomelo and orange were two popular fruits planted in the area. Due to the uniqueness of soil and climate, both kinds of fruits became very famous for its sweetness.  


The first community institution, a Buddhist temple, was founded approximately in 1760. It was in Nonghin, used as a cemetery after the temple was moved. It was moved to where it is now in 1890 and received the name “Wat Kutao”. It became the first Buddhist temple in the area. The new location is on the west bank of Klong-U-Tapao River, more convenient for transportation. “Ubosot”, the official sacred place for Buddhist monks to perform religious ceremony, was not finished until 1902. King Rama V, during his tour of Songkhla Lake, wrote in his journal while visiting Wat Kutao in 1896 that it was under construction. 


Wall paintings inside are essentially the masterpiece, reflecting capability of local artists at that time. It depicted the tale of Vessantara, the king who gave up everything he owned to pave the way for achieving enlightenment. It was done at the same time of the construction of the building. Even though the paint was chipped and faded away over the period of over 150 years, it still retains great beauty, imagination, and wisdom of self-taught local artists. 


There is an inscription on a piece of slate at the east entrance, showing the date when it was finished along with a short description of how the Ubosot came into existent.
Before the year 1900, Maethom had no conventional school to educate children. For those who wanted to learn how to read and write, they had to be ordained to become monks. However, the monastery could not formally educate a large number of monks because lacking of qualified instructors. While Maethom seemed very primitive for education, just about this time, the Wright brothers invented and flew their first airplane in the US. And at just about the same time, an unknown patent clerk name Albert Einstein in Switzerland published a paper on the theory of relativity. The first school for Maethom and nearby areas was not established until 1917. Even so, it took many more years until it was mandated by law for kids to be in school for at least 4 years. The literacy rate in Maethom went up, from very few people to a few. Parent preferred to keep kids at home and help in the field rather sending them to school.
Maethom was named after the large swamp in the village bearing the same name. There are many theories where the name came from. The most plausible could be coming from, Krathom, a large tree with scientific name of “Mitragyna speciosa”. Substance in its leaves is classified as a narcotic drug, having effects similar to amphetamines. Krathom trees were abundant around the swamp in the early days. Before 1975, the swamp was in its natural condition, full of weeds, forming bogs thick enough to walk on. Every few years, bogs would be swept away by stream during the big flood. Around the swamp were dense sago palm trees, giving mysterious feeling about the swamp from its look. The swamp was transformed into merely a pond in later years by the power of politic and creative ways to do something to get funds from the central government in Bangkok. The office of "Sub-district Administration Organization" was built on the east rim of the swamp. It is a local government similar to municipality, but under the administration of the Ministry of Interior. Maethom people elect new team from the local political parties every 4 years to run the office. 


Satellite pictures revealed that the swamp was essentially part of the network of small natural waterways which became shallower over time by both human hands and deposits from yearly flood. The swamp used to be a true public property for everyone to share. It was the place where villagers went fishing to covered basic needs for fishes and water vegetables all year round. Water in the swamp was clean enough and drinkable without being treated first. In the later years, a walkway was built around the swamp, and only limited fishing is allowed for recreation.





14 พฤศจิกายน 2554

ราม่าคูเต่า โรงหนังแห่งแรกของลุ่มน้ำอู่ตะเภา

แม่ทอมและคูเต่าห่างกันแต่ความกว้างเของคลองอู่ตะเภา เนื่องจากสะพานเชื่อมสองตำบลมีอยู่ที่เดียวที่วัดคูเต่า สองตำบลจึงเหมือนกับอยู่ห่างกันสุดแสนไกล เรือที่จะใช้ข้ามฟากก็แสนที่จะหายาก หากว่าบ้านใครเกิดมีจอดไว้ที่ท่าสักลำ ก็เป็นอันว่าวันๆไม่ต้องทำอะไร เพราะจะมีคนมาขอให้ไปส่งอีกฟากหนึ่ง คนจากอีกฟากหนึ่งก็ตะโกนเรียกให้เอาเรือข้ามไปรับให้ได้วุ่นวายอยู่ทั้งวัน บ้านที่มีเรือส่วนใหญ่จึงหามขึ้นมาเก็บไว้ใต้ถุน จะเอาลงน้ำก็ต่อเมื่อถึงหน้าน้ำเดือนอ้าย ตลอดสองฟากคลองตั้งแต่นารังนกไปจนถึงวัดคูเต่าต่างอยู่ในสภาพเดียวกัน บ้านริมคลองทั้งสองฝั่งที่อยู่ห่างกันไม่กี่ว่าจึงดูเหมือนไกลกันเหมือนอยู่คนละซีกโลก
เมื่อครั้งกระโน้นบ้านเราก็มีคนหัวเซ็งลี้หรือที่ทางสากลเขาเรียกว่าentrepreneurอยู่บ้างเหมือนกัน แต่ก็ไม่มากนัก โดยทั่วๆไปใครๆมักจะเป็นประเภทสะดวกนิยมเสียส่วนมาก คือมีก็กินไม่มีก็ไม่กิน ไม่ค่อยจะมีใครคิดการใหญ่เพื่อความมั่งคั่งร่ำรวย ซึ่งโดยสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมก็ไม่เอื้ออำนวยให้คิดเช่นนั้นอยู่แล้ว ใครๆก็ทำนาแค่พอกินและส่วนใหญ่มีที่นาของตัวเองที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ไม่มีเจ้าที่ดินรายใหญ่ที่จะได้ตั้งตัวเป็นผู้ผลิตเพื่อการค้า ความรู้ทางเครื่องยนต์กลไกก็มีพอแค่ประกอบรถรุน(รถเข็น)ไว้ขนข้าว เทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าสูงสุดของพื้นที่ก็เห็นแต่การต้มเหล้า ซึ่งก็เป็นการไปขัดผลประโยชน์กับรัฐและนายทุนในเมือง เลยกลายเป็นอุตสาหกรรมเถื่อนเพราะทำโดยคนเถื่อน ผลผลิตจึงกลายเป็นเหล้าเถื่อน ตำรวจและสรรพสามิตต้องใช้เวลาเป็นวันในการเข้ามาตรวจค้นทำลายและจับคนทำไปปรับและขัง พวกนายเขาว่าเหล้าเถื่อนนั้นมันทำลายสุขภาพแต่เหล้าโรงนั้นคือน้ำอมฤต

บ้านลุงพูนอยู่ระหว่างวัดเก่า(วัดอู่ตะเภา)และวัดใหม่(วัดชลธารประสิทธิ์) ใครๆต่างก็นับลุงพูนเป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้มีหัวการค้า หลายๆคนจึงเรียกแกว่าเถ้าแก่พูน แกเป็นรายแรกในละแวกนี้ที่ริเริ่มสร้างโรงสีข้าวสมัยใหม่ที่เรียกกันว่าโรงสีใหญ่ รับบริการสีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร โรงสีของแกตั้งอยู่ริมคลอง เป็นความสะดวกของผู้ใช้ เพราะ๙๕%ของการขนส่งของหนักในสมัยนั้นทำโดยทางเรือ โรงสีทำให้แกมีรายได้พอที่จะส่งลูกชายคนหัวปีและคนรองๆไปเรียนหนังสือในเมือง คนหนึ่งคือหลวงนันจบจากสถานศึกษาสูงสุดในพื้นที่ของเวลานั้นคือวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสงขลาในปัจจุบัน หลวงนันนั้นก็ไม่แพ้พ่อในด้านเซ็งลี้ ในระหว่างที่กำลังเรียน แกเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงผลักดันให้ลุงพูนสร้างโรงภาพยนต์ขึ้นใกล้ๆกับโรงสีเมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๕๐๘ ชื่อว่า"ราม่าคูเต่า"

อาคารโรงหนังสร้างค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับยุคสมัย พื้นที่ ผู้บริโภค เป็นอาคารคอนกรีตผสมไม้ถอดแบบมาจากโรงหนังชั้นนำที่หาดใหญ่และสงขลาในสมัยนั้น นอกจากบรรดาพรรคพวกญาติพี่น้องของลุงพูนแล้ว บังเป็นรุ่นจิ๋วที่มักจะไปป้วนเปี้ยนสังเกตุการณ์ตั้งแต่เขาลงมือก่อสร้าง ลุงพูนหาเรือข้ามฟากมาไว้บริการคนที่ข้ามฟากไปสีข้าว บังจึงสามารถข้ามไปมาได้ทั้งวัน ไปบ่อยจนคุ้นเคยกับหลวงนันดี พอสร้างโรงหนังเสร็จถึงเวลาเปิดโรงหนังและฉายรอบปฐมฤกษ์ เป็นช่วงหน้าร้อนโรงเรียนปิดเทอมใหญ่ บังเลยได้ติดเรือหางยาวไปกับคณะโฆษณาของหลวงนันซึ่งติดเครื่องขยายเสียงในเรือประกาศให้คนทั้งสองฝั่งคลองมาดูหนัง ชมชนที่คนหนาแน่นที่สุดในสมัยนั้นคือบ้านใต้ ชึ่งประชากรเกือบ๑๐๐%เป็นชาวมุสลิม มีอาชีพประมงในทะเลสาบ และดูเหมือนว่าจะเป็นกลุ่มเดียวที่มักจะมีเงินในกระเป๋า

บังขึ้นจากเรือเดินแจกใบปลิวโฆษณาที่บ้านใต้ แขกบ้านใต้มองบังด้วยความทึ่ง ว่าเด็กตัวเล็กอายุไม่ถึงสิบขวบ นุ่งกางเกงขาสั้นตูดขาดไม่ใส่เสื้อเดินแจกใบปลิวพร้อมทั้งเชิญชวนให้ไปดูหนังด้วยความมั่นใจ แถมยังเล่าเรื่องย่อๆของหนังให้ฟังทั้งทั้งที่ตัวเองก็ไม่เคยดู แต่อาศัยจากที่ฟังหลวงนันเล่าให้ฟัง ได้ยินบางคนพูดว่าสงสัยเป็นลูกคนเล็กของเถ้าแก่พูน บังไม่รับและก็ไม่ปฏิเสธตั้งหน้าตั้งตาทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ เพราะหลวงนันกระซิบเอาไว้ว่า...ไอ้เหล็ม ถ้ามึงทำได้ดีแล้วกูจะให้มึงมาแจกใบปลิวอีกในรอบต่อไปและจะให้ดูหนังฟรีทุกรอบ...ทุกรอบนั้นหมายถึงทุกอาทิตย์ เพราะเขามีกำหนดฉายอาทิตย์ละครั้ง ทุกๆคืนวันพฤหัส วันนั้นทั้งหลวงนันและทุกคนที่ไปด้วยกันเห็นพ้องกันหมดว่าบังทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยม บังก็แอบดีใจที่จะได้ดูหนังฟรี

การโฆษณาทำกันอย่างอึกทึกครึกโครมล่วงหน้าหลายวัน เป็นหนังไทยเรื่อง"สมิงบ้านไร่"นำแสดงโดยมิตร ชัยบัญชาและเพชรา เชาวราษฎร์ พระเอกนางเอกยอดนิยมในขณะนั้น กลับจากโฆษณาทางเรือ ลำโพงสองตัวก็ถูกนำขึ้นไปติดบนยอดหยีสูงริมคลองเพื่อทำการโฆษณาต่อโดยการปีนของหลวงช่วย เพราะแกเคยมีอาชีพคาบตาลและถนัดในเรื่องปีนป่าย และตอนนี้เองที่ชาวหัวควายและชาวแม่ทอมได้รู้จักหลวงช่วย โฆษกรายใหม่ที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อน ปกติแกช่วยงานอยู่ที่โรงสีคอยยกชันข้าวเปลือกแบกข้าวสาร พายเรือข้ามฟากและฯลฯแล้วแต่ลุงพูนจะใช้

ความรู้ทั่วไปและทักษะในการพูดภาษากลางของหลวงช่วยค่อนข้างจำกัด คงจะแย่กว่าหนังตะลุงหลายเท่าตัว และแกไม่ยอมใช้ภาษาถิ่น แต่พยายามที่จะพูดภาษากลาง การโฆษณาหนังของแกจึงมีความพิศดารแสลงหูได้อย่างไร้เทียมทาน บรรดาเด็กและผู้ใหญ่ทั้งสองฝั่งคลองแรกๆก็นั่งหัวเราะกันหน้าดำหน้าแดง แต่พอผ่านไปได้สักพัก เสียงหลวงช่วยก็กลายเป็นเสียงหนวกหู เพราะแกพูดวกไปวนมาอยู่ที่เดิมด้วยภาษาที่ไม่มีใครฟังรู้เรื่อง แต่หลวงช่วยก็พูดได้ไม่หยุดเหมือนแผ่นเสียงตกร่อง แกชอบและมีความพากพูมใจในการพูดเข้าเครื่องขยายเสียงเอามากๆ และยึดหน้าที่นี้มาตลอดทั้งๆที่โดนหลวงนันและลุงพูนบอกให้ลดๆลงหน่อย...ต่อมาแกจึงได้ฉายาว่า"ช่วยหัวชัว" เวลามีงานมีเครื่องขยายเสียงที่ไหนหากว่าไมค์ติดเข้าไปอยู่ในมือหลวงช่วยก็ยากที่ใครจะเข้าไปแย่งออกมาได้ แกจะจ้ออยู่ได้อย่างไม่รู้เบื่อ

และวันที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง รอบปฐมฤกษ์เบิกโรงของรามาคูเต่า คนแห่กันมาจนแทบจะล้นโรง ตั๋วผู้ใหญ่๔บาท เด็ก๒บาท บังไปทวงตั๋วฟรีก็ไม่ได้ คนขายตั๋วบอกให้ไปทวงกับหลวงนัน พอเจอหลวงนันแกก็บอกว่ารอให้คนที่ซื้อตั๋วเข้าไปให้หมดก่อนแล้วจะพาบังเข้าไป รอไปรอมาที่นั่งก็หมด หลวงนันก็ยังไม่มาพาบังเข้าไปเสียที จะซื้อตั๋วก็ไม่มีตังค์ เลยถือโอกาสตอนคนเฝ้าประตูเผลอแว็บเข้าประตูไปอย่างรวดเร็ว ในใจก็นึกด่าหลวงนันอยู่ตลอด...เห็นว่าเราเป็นเด็กเบี้ยวเราได้ดื้อๆ...แต่ก็ดูไปด้วยความตื่นเต้นจนจบเหมือนกัน ทั้งๆที่ไม่ปะติดปะต่อ คนดูไม่มีใครบ่น เปลี่ยนม้วนฟีล์มอย่างน้อยสี่ครั้ง หนังขาดก็หลายครั้ง กว่าจะต่อได้ก็ครั้งละอย่างน้อย๑๕นาที ทุกคนกลับบ้านด้วยความเบิกบาน

หนังรอบปฐมฤกษ์ผ่านไป รอบวันพฤหัสถัดไปก็อีกไม่กี่วัน บังก็ไปป้วนเปี้ยนอยู่กับหลวงนันและพรรคพวกเช่นเคย หวังจะให้เขาชวนไปแจกใบปลิวอีก... แต่เอ๊ะ...แปลกแฮะ...หลวงนันทำเป็นไม่เห็น ไม่ทักไม่ทายเช่นเมื่อก่อน พอถึงตอนเขาลงเรือติดเครื่องขยายเสียง บังจึงพอจะเดาออกว่าเกิดอะไรขึ้น คราวนี้มีคนใหม่สามคนที่ไม่ได้ไปคราวที่แล้ว...เป็นหลวงช่วย ไอ้ร่วยลูกชายหลวงช่วยและไอ้ชัยน้องชายหลวงนันซึ่งอายุมากกว่าบัง๓-๔ปี...เพราะเหตุนี้นี่เอง...บังถึงบางอ้อและมาจนถึงบางพลัด...พลัดเพราะโดนเขาไม่ยอมให้ร่วมกระบวนการอีกต่อไป บังจึงหมดความสำคัญ..โดนเบี้ยวไม่ยอมให้ตั๋วฟรีในรอบแรกอีกต่างหาก...แค้นนัก น้ำตาทำท่าจะไหลเอาให้ได้...

เรือของคณะโฆษณาออกจากท่าไปแล้ว ริมคลองหน้าโรงหนังจึงเหลือแต่บังคนเดียว ความเสียใจยังคับอก แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร จึงเดินแตร่ไปทางหน้าโรงหนัง เดินเฉียดไปทางห้องขายตั๋ว ซึ่งเป็นคอกสูงผนังซีเมนต์ใต้ถุนห้องฉายหนัง มีประตูเข้าอยู่ด้านในของโรงหนัง มีช่องหน้าต่างเล็กๆขนาดพอยื่นมือผ่านได้สำหรับซื้อขายตั๋ว ปิดไว้ประตูเลื่อนอันเล็กๆไม่มีกลอนจากข้างในตอนที่ไม่ได้ใช้ บังเตร่เข้าไป ด้วยความอยากรู้อยากเห็น อยากจะรู้ว่าห้องขายตั๋วมันเป็นอย่างไร ก็เลยหาเก้าอี้มารองปีนขึ้นไปเปิดบังตาดู ที่ต้องรองเก้าอี้ก็เพราะช่องขายตั๋วเขาทำไว้สำหรับผู้ใหญ่ มันสูงท่วมหัวบังในตอนนั้น...ข้างในมีโต๊ะวางชิดผนังตรงช่องขายตั๋ว และตรงมุมโต๊ะด้านหนึ่งมีตั๋ววางอยู่หลายเล่ม...อ้อตั๋วหนังนี่เขาทำเป็นเล่มอย่างนี้เองบังคิดในใจ วันก่อนให้เราสักใบก็ไม่ได้...ได้โอกาสแล้วขอสักใบซิ...อยากโกงเราทำไม...ลักเอาดีกว่า แต่จะเอาอย่างไรล่ะอยู่ไกลเกินไปเอื้อมไม่ถึง เข้าไปก็ไม่ได้...ไม่เป็นปัญหา ลิงมันยังแก้ปัญหาชนิดนี้ได้ บังฉลาดกว่าลิง แค่หาไม้มาสอย ก็ได้ตั๋วมาหนึ่งเล่ม พอดีได้ยินเสียงใครเดินคุยกันมาแต่ไกลก็เลยไม่มีเวลาพอที่จะฉีกเอาแค่หนึ่งใบ ก็เลยเอามาทั้งเล่ม ก่อนที่ใครจะมาเห็น

ได้ตั๋วแล้วก็ข้ามฟากกลับมานั่งที่หลาทอม ตั๋วเล่มนั้นมีอยู่ประมาณ๕๐ใบ บังแค่ต้องการสักใบที่โดนเบี้ยว จะทำอย่างไรดีหว่ากับส่วนที่เหลือ พอดีหนุ่มๆในหมู่บ้านเดินผ่านมากลุ่มหนึ่ง บังจึงให้เขาไปทั้งเล่มที่เหลือบอกเขาว่าบังเจอตกอยู่ที่หน้าห้องขายตั๋ว ในใจก็คิดว่าคงจะไม่เป็นไร เขาคงจะไม่ปากเปียก เพราะถ้าเขาเอาไปพูดก็คงจะอดดูหนังฟรี บังคิดง่ายๆ และเป็นการคิดผิดถนัดสำหรับอนาคต เขาไม่พูดในขณะที่ยังได้ประโยชน์ แต่พอพ้นจากนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง...

ราม่าคูเต่ารอบถัดจากนัดปฐมฤกษ์คนไม่แน่นเท่าคราวที่แล้ว แต่ก็ยังเกือบเต็มโรงอยู่ดี ไม่มีอะไรกระโตกกระตาก เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างยังใหม่ ระบบจัดการยังไม่เข้ารูปเข้ารอย เรื่องตั๋วหายและตั๋วฟรีจึงไม่มีใครเห็นอะไรผิดปกติมากนัก ประกอบกับพวกที่ได้ตั๋วจากบังไปคงจะเอาไปทะยอยใช้ซึ่งก็คงจะกินเวลานานกว่าจะหมด ยังไม่หมดก็คงจะยังไม่มีใครพูดมาก แต่ก็ไม่วายที่บังจะได้ยินแว่วๆจากคนอื่นๆเรื่องบังแจกตั๋ว บังเริ่มจะกลัวความผิด และไม่ยอมไปเตร็ดเตร่แถวๆโรงหนังอีกหลังจากนั้น...

...และก็จริงอย่างที่มาคิดได้ทีหลัง พอพวกที่ได้ตั๋วไปเอาไปใช้จนหมดหลายเดือนให้หลัง เรื่องไอ้เหล็มแจกตั๋วฟรีก็เป็นที่รู้กันทั่วไปทั้งสองฝั่งคลอง...สองสามปีถัดมารามาคูเต่าก็ประสบกับภาวะขาดทุนเพราะไม่ค่อยมีคนดู พวกปากเปียกหลายคนบอกว่าโรงหนังเถ้าแก่พูนเจ๊งเพราะไอ้เหล็ม..